บทความ

4 Steps ขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ ที่มือใหม่ต้องรู้ Update 2567

4 Steps ขอ อนุญาต ติด ตั้ง โซ ล่า เซลล์ ที่มือใหม่ต้องรู้ Update 2567 

การติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้าน หรืออีกชื่อที่เข้าใจกันว่า Solar rooftop ในปัจจุบันได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ จากเทรนด์การใช้พลังงานสะอาดทั่วโลก *โดยอ้างอิงจากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ระบุว่า ประเทศไทยมีการติดตั้งโซล่าเซลล์เพิ่มขึ้นจาก 49 เมกะวัตต์ (MW) ในปี 2010 เป็น 2,983 เมกะวัตต์ในปี 2020 และมีแนวโน้มว่าจะมีการติดตั้ง
โซล่าเซลล์เพิ่มขึ้นอีกภายในปี 2037 และที่สำคัญ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ยังสามารถช่วยประหยัดค่าไฟได้ไม่น้อย ส่งผลให้เจ้าของบ้านหลายคนตัดสินใจลงทุนซื้อโซล่าเซลล์เพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ การจะติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้านได้นั้น จำเป็นต้อง ขอ อนุญาต ติด ตั้ง โซ ล่า เซลล์ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เรียบร้อยเสียก่อน 
* ระบุในเว็บไซต์ Rated Power – บริษัทเทคโนโลยีด้านพลังงานที่ได้รับการรับรองจากองค์กรด้านพลังงานทั่วโลก 

หลายคนอาจจะสงสัยว่า การยื่นเรื่องขอติดตั้งโซล่าเซลล์มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง และมีการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนต่าง ๆ จากปีก่อนอย่างไรบ้าง บทความนี้ SOLAR WING จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ 4 Step ขออนุญาต ติด ตั้ง โซ ล่า เซลล์ ที่มือใหม่ต้องรู้ Update 2567 มาฝากกัน 

ทำไมต้องมีการ ขอ อนุญาต ติด ตั้ง โซ ล่า เซลล์ กับหน่วยงานรัฐ ? 

ทำไมต้องมีการขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์กับหน่วยงานรัฐ ?

เนื่องจากการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้าน จำเป็นต้องมีการดัดแปลงโครงสร้าง เพื่อให้สามารถผลิตไฟฟ้าใช้ในบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้ จะต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบ้านให้มีความมั่นคงแข็งแรง มีระบบป้องกันความปลอดภัย เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจากโซล่าเซลล์ และไม่กระทบต่อพื้นที่อาศัยของเพื่อนบ้าน ตามที่กฎหมาย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ได้กำหนดไว้  

ดังนั้น เจ้าของบ้านจึงต้องขออนุญาตกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถดูแลความปลอดภัยของบ้านเรือนที่ติดตั้งโซล่าเซลล์ไม่ให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ในภายหลังได้ ทั้งยังสามารถเก็บข้อมูลการใช้ไฟฟ้าจากระบบโซล่าเซลล์ เพื่อทำการวิจัยและปรับปรุงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งจะส่งผลดีต่อเจ้าของบ้านที่ใช้โซล่ารูฟท็อปในอนาคต  

ทั้งนี้ จะมีการติดตั้งโซล่าเซลล์ที่แตกต่างกันไปตามระบบที่เจ้าของบ้านได้เลือกใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าในบ้าน การขออนุญาตจึงมีความแตกต่างกันไป 

ระบบรูปแบบไหนที่ต้องขออนุญาตติดตั้ง
โซล่าเซลล์กับหน่วยงานรัฐ ? 

ระบบแบบไหนที่ต้องขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์กับหน่วยงานรัฐ ?

สำหรับบ้านเรือนที่ติดตั้งโซล่าเซลล์ในรูปแบบออนกริด (On Grid) รวมทั้งรูปแบบไฮบริด (Hybrid) ซึ่งเป็นการผลิตไฟฟ้าที่ต้องต่อขนานกับระบบโครงข่ายของการไฟฟ้า จะต้องดำเนินการ ขอ อนุญาต ติด ตั้ง โซ ล่า เซลล์ กับหน่วยงานภาครัฐทั้งหมด 3 หน่วยงาน ได้แก่ 

  1. ราชการส่วนท้องถิ่น (ในพื้นที่ที่จะติดตั้งโซล่าเซลล์) 
  1. คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน 
  1. การไฟฟ้านครหลวง หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 

ในขณะเดียวกัน บ้านเรือนที่มีการติดตั้งโซล่าเซลล์แบบออฟกริด (Off Grid) ซึ่งเป็นการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เอง โดยไม่ต้องต่อขนานกับระบบโครงข่ายของการไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าแสงสว่างบริเวณรั้ว สนาม ป้าย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และการติดตั้งในพื้นที่ชนบทห่างไกลที่ต้องชาร์จพลังงานไว้ในแบตเตอรี่ สามารถใช้งานได้ทันทีที่ติดตั้งเสร็จ โดยไม่ต้องยื่นเรื่องขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์  

เจ้าของบ้านหลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า การยื่นเรื่องขออนุญาตต่อหน่วยงานนั้น ๆ มีขั้นตอนอย่างไร และต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง ขอพาทุกคนไปทำความเข้าใจกับกระบวนการขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ เพื่อให้สามารถใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างอุ่นใจและถูกต้องตามกฎหมาย 

ขั้นตอนขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์
ฉบับปี 2567 

ขั้นตอนขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ ฉบับปี 2567

แม้ว่าขั้นตอนขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์จะมีหลายขั้นตอนในการดำเนินงาน แต่จะมีประโยชน์ต่อเจ้าของบ้านมือใหม่ที่ช่วยให้เข้าใจกระบวนการมากขึ้น และสามารถติดตามความคืบหน้าในการเดินเรื่องของหน่วยงานต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ต่อไปจะพามาเช็กกันว่า จะต้องยื่นเรื่องต่อหน่วยงานไหนบ้าง และมีขั้นตอนอย่างไร 

1. ยื่นใบ ขอ อนุญาต ติด ตั้ง โซ ล่า เซลล์ ต่อหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น 

อันดับแรกจะต้องแจ้ง หรือขออนุญาตราชการส่วนท้องถิ่นดัดแปลงบ้านและอาคาร เพื่อทำการติดตั้งโซล่าเซลล์ โดยจะต้องผ่านการตรวจสอบความแข็งแรงในการติดตั้งโซล่าเซลล์ และมีลายเซ็นรับรองจากวิศวกรโยธาที่มีใบประกอบวิชาชีพวิศวกรอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น 

เอกสารที่ใช้เพื่อยื่นขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ 

  1. เอกสารแบบแปลนแสดงแผนผังและโครงสร้างหลังคา โครงสร้างรองรับแผงโซล่าเซลล์  
  1. เอกสารรายละเอียดการติดตั้งโซล่าเซลล์ 
  1. ใบอนุญาตดัดแปลงอาคารเพื่อขออนุญาตปรับปรุงอาคาร (อ.1) สำหรับกรณีที่ต้องการพื้นที่ติดตั้งโซล่าเซลล์เกิน 160 ตารางเมตร และน้ำหนักเกิน 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร 
  1. ใบคำร้องแจ้งให้ทราบ ในกรณีที่ติดตั้งโซล่าเซลล์บนพื้นที่ไม่เกิน 160 ตารางเมตร และมี
    น้ำหนักไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ไม่ต้องยื่นใบ อ.1) 

ยื่นเรื่องเพื่อขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ที่ไหน ? 

สามารถยื่นเรื่องได้ที่หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในปัจจุบัน เช่น สำนักงานเขต สำนักงานเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น 

2. แจ้งขอยกเว้นการรับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าต่อสำนักงาน กกพ. 

2. แจ้งขอยกเว้นการรับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าต่อสำนักงาน กกพ.

อันดับที่สอง จะเป็นการยื่นเรื่องต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดยจะพิจารณาที่ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งโซล่าเซลล์บนบ้านและอาคาร ซึ่งมีเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อรับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้า ดังนี้ 

  • กรณีที่โซล่าเซลล์มีกำลังผลิตติดตั้งน้อยกว่า 1,000 กิโลวัตต์สูงสุด (kWp) เช่น ติดตั้ง
    โซล่าเซลล์บนหลังคาบ้าน ร้านค้าขนาดเล็ก และออฟฟิศขนาดเล็ก ให้แจ้งขอยกเว้นการรับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าจาก กกพ. 
  • กรณีที่โซล่าเซลล์มีกำลังผลิตติดตั้งมากกว่าหรือเท่ากับ 1,000 กิโลวัตต์สูงสุด (kWp) เช่น ติดตั้งโซล่าเซลล์สำหรับห้างสรรพสินค้า โรงงาน ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กและรายใหญ่ ฯลฯ ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้า 

เอกสารที่ใช้เพื่อแจ้งขอยกเว้นการรับใบอนุญาต 

  1. ชื่อ สัญชาติ และถิ่นที่อยู่ของเจ้าของกิจการพลังงาน (เจ้าของบ้าน) 
  1. ที่ตั้งของสถานประกอบกิจการพลังงาน (ที่ตั้งของโซล่าเซลล์) 
  1. ประเภทและขนาดของกิจการพลังงาน (รูปแบบและขนาดของโซล่าเซลล์) 
  1. สำเนาบัตรประชาชนของผู้แจ้ง 
  1. กรณีที่ผู้แจ้งไม่ใช่เจ้าของกิจการพลังงาน ให้เตรียมหนังสือมอบฉันทะ สำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบฉันทะ 
  1. เอกสารอื่น ๆ ตามที่ กกพ. กำหนด 

เมื่อดำเนินการเรื่องเอกสารเรียบร้อยแล้ว สำนักงาน กกพ. จะให้หนังสือการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตกลับมา 

ยื่นเรื่องเพื่อแจ้งขอยกเว้นการรับใบอนุญาตที่ไหน 

สำหรับบ้านหลังไหนที่ต้องการติดตั้งโซล่าเซลล์ สามารถแจ้งขอยกเว้นการรับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้า ได้ที่สำนักงาน กกพ. หรือลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ cleanenergyforlife.net  

3. ยื่นเรื่องขออนุญาตเชื่อมขนานกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าต่อ กฟน. หรือ กฟภ. 

3. ยื่นเรื่องขออนุญาตเชื่อมขนานกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าต่อ กฟน. หรือ กฟภ.

อันดับต่อไป จะเป็นการยื่นเรื่องขอติดตั้งระบบโซล่าเซลล์บ้านขนานกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้า เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ภายในบ้านและอาคาร โดยสามารถยื่นเรื่องได้ทั้งหมด 2 กรณี 

  1. เพื่อใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและอาคารเพียงอย่างเดียว โดยจะต้องออกแบบระบบป้องกันไม่ให้มีการจ่ายกระแสไฟฟ้ากลับสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้า จนระบบไฟฟ้าเกิดความเสียหายต่อผู้ใช้ไฟฟ้ารายอื่น 
  1. เพื่อใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อาคาร และขายไฟฟ้าส่วนเกินให้กับการไฟฟ้า โดยเจ้าของบ้านจะต้องเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 ตามประกาศของการไฟฟ้า (ผู้ใช้ไฟฟ้าในบ้านที่อยู่อาศัย) ซึ่งมีระบบไฟฟ้าที่สามารถขายไฟฟ้าส่วนเกินให้กับการไฟฟ้าได้ ในราคาหน่วยละ 2.20 บาท 

เอกสารที่ใช้เพื่อยื่นขอเชื่อมขนานกับระบบโครงข่ายไฟฟ้า 

  1. แบบคำขอเชื่อมต่อขนานกับระบบโครงข่ายไฟฟ้า  
  1. หนังสือจดแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต ที่ได้รับจากสำนักงาน กกพ. 
  1. ใบอนุญาตดัดแปลงอาคารเพื่อขออนุญาตปรับปรุงอาคาร (อ.1) 
  1. แบบแปลนโครงสร้างการติดตั้ง ที่ได้รับการตรวจสอบความแข็งแรง และเซ็นรับรองโดยวิศวกรโยธาที่มีใบประกอบวิชาชีพวิศวกร 
  1. แบบ Single Line Diagram ที่มีการลงนามรับรองโดยวิศวกรไฟฟ้า 
  1. สำเนาใบประจำตัวผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรที่เป็นผู้เซ็นรับรองเอกสาร 
  1. เอกสารแสดงรายละเอียดคุณสมบัติของแผงโซล่าเซลล์ และอินเวอร์เตอร์ 
  1. Mini COP รายการตรวจสอบมาตรการด้านการออกแบบติดตั้งตามประมวลหลักการปฏิบัติ 
  1. เอกสารมอบอำนาจ ในกรณีที่ให้ตัวแทนดำเนินการขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์แทน 

หมายเหตุ: กรณีที่ต้องการติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อใช้ในอาคาร และขายไฟฟ้าคืน จะต้องเตรียมแบบแจ้งความประสงค์ในการใช้งาน พร้อมกับรายละเอียดของอุปกรณ์ควบคุมการจ่ายไฟไหลย้อนเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าเพิ่มเติมด้วย 

ยื่นเรื่องเพื่อขอเชื่อมขนานกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าที่ไหน ?  

สำหรับบ้านและอาคารที่จะติดตั้งโซล่าเซลล์ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ จ.นนทบุรี และ จ.สมุทรปราการ ให้ดำเนินการกับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โดยสามารถยื่นเรื่องผ่านเว็บไซต์ myenergy.mea.or.th  

ส่วนบ้านและอาคารที่ตั้งอยู่นอกพื้นที่กรุงเทพฯ จ.นนทบุรี และ จ.สมุทรปราการ ให้ดำเนินการกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และสามารถยื่นเรื่องผ่านเว็บไซต์ ppim.pea.co.th  

4. รับการตรวจสอบระบบโซล่าเซลล์จากเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า 

4. รับการตรวจสอบระบบโซล่าเซลล์จากเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า

หลังจากที่ดำเนินการยื่นเอกสารขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ และหน่วยงานทั้งสามแห่งได้ตรวจสอบเอกสารเรียบร้อยแล้วนั้น การไฟฟ้าในพื้นที่จะส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบระบบโซล่าเซลล์บ้าน และการเชื่อมระบบไฟฟ้าขนานกับระบบโครงข่ายว่าเป็นไปตามข้อกำหนดหรือไม่ 

จากนั้น เจ้าของบ้านจะต้องเปลี่ยนมิเตอร์แบบธรรมดาให้เป็นมิเตอร์ดิจิทัล พร้อมกับติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับสู่ระบบโครงข่ายของการไฟฟ้า โดยจะมีค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบการเชื่อมระบบไฟฟ้า ค่าอุปกรณ์ และค่าอื่น ๆ ที่ต้องชำระให้กับการไฟฟ้า  

ขั้นตอนขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์เหล่านี้เป็นฉบับล่าสุดที่ทาง SOLAR WING ได้รวบรวมมาให้แล้ว โดยในปัจจุบัน หน่วยงานด้านพลังงานอย่าง กกพ. กฟน. และ กฟภ.ได้พัฒนาระบบลงทะเบียนออนไลน์และแอปพลิเคชัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเจ้าของบ้านที่จะติดตั้งโซล่าเซลล์ แต่ทั้งนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงขั้นตอน และวิธีการดำเนินการเพิ่มเติมในอนาคต SOLAR WING จะติดตามความเคลื่อนไหวพร้อมกับแจ้งให้ทุกคนทราบต่อไปในภายหลังอีกครั้ง

การขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ มอบอำนาจให้ตัวแทนดำเนินการได้ไหม ?  

การขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ มอบอำนาจให้ตัวแทนดำเนินการได้ไหม ?

สำหรับขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ หากเจ้าของบ้านดำเนินการด้วยตัวเอง อาจประสบกับความยุ่งยากในการเตรียมเอกสารต่าง ๆ และความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการประสานงานกับหน่วยงานได้ 

ทั้งนี้ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อนุญาตให้เจ้าของบ้านมอบอำนาจให้บริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ที่มีประสบการณ์และมีความน่าเชื่อถือ สามารถดำเนินการขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์แทนให้ได้ จึงช่วยอำนวยความสะดวก และลดระยะเวลาให้กับเจ้าของบ้านได้อย่างดี 

ในการเลือกบริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ ขอแนะนำ One Stop Services จาก SOLAR WING ที่มีบริการดำเนินการขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์กับหน่วยงานแบบครบวงจร โดยทีมงานที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ พร้อมกับติดตามผลจนเสร็จสิ้นทุกขั้นตอน ที่สำคัญ เมื่อเกิดปัญหา ทีมงานพร้อมแก้ไขทันที 

สรุป 

การขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ภายในอาคารแบบออนกริด และไฮบริดมีหลายขั้นตอน ได้แก่ การยื่นใบอนุญาตต่อราชการส่วนท้องถิ่น การแจ้งขอยกเว้นรับใบอนุญาตจาก กกพ. การยื่นเรื่องขอขนานไฟฟ้ากับการไฟฟ้า และการตรวจสอบระบบโซล่าเซลล์โดยเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า ซึ่งถ้าเจ้าของบ้านต้องการเดินเรื่องเอง อาจใช้เวลาค่อนข้างนาน ฉะนั้น เพื่อการใช้งานโซล่าเซลล์ที่ราบรื่นและถูกต้องตามกฎหมาย สามารถให้ SOLAR WING ช่วยดำเนินการแทนให้ได้ ด้วยบริการ One Stop Service ที่ง่าย ครบ จบในที่เดียว  

สำหรับเจ้าของบ้านที่สนใจจะติดตั้งโซลล่าเซลล์ไว้ที่บ้าน ร้านค้า หรือสำนักงาน แต่ยังไม่ได้ดำเนินการขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ สามารถสอบถามข้อมูลของบริการ One Stop Services เพิ่มเติมกับ SOLAR WING ได้เสมอ ยินดีให้คำปรึกษาครบทุกเรื่องโซล่าเซลล์ [คลิกเลยที่นี่

SOLAR WING ผู้ให้บริการออกแบบ ติดตั้ง และดูแล บำรุงรักษาระบบโซลาร์เซลล์แบบครบวงจร เราคือผู้นำ ด้านธุรกิจโซลาร์เซลล์ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยได้เข้าถึงการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ อย่างแพร่หลาย มั่นคง และยั่งยืน ทุกขั้นตอนจะเป็นเรื่องง่ายไม่ยุ่งยาก เราพร้อมดูแลจัดการ ประเมินออกแบบให้ลูกค้าพร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนใจติดตั้ง Solar Cell พลังงานเพื่ออนาคต ติดต่อขอรับคำปรึกษาจาก SOLAR WING ได้ที่ Email: info@solarwing.co หรือ
โทร 080-3299777 

ที่มา 

SOLAR & EV TOWN จาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน 

การขออนุญาตดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จาก รัฐสภา 

การกําหนดให้กิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตเป็นกิจการที่ต้องแจ้ง พ.ศ. 2551 จาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน 

การขอรับใบอนุญาต/การแจ้งต่าง ๆ จาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน 

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ สำหรับบ้าน อ่านแล้วตัดสินใจได้เลย จาก บ้านและสวน 

คู่มือการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้า จาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน 

โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา สำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย จาก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 

โครงการพลังงานหมุนเวียน จาก การไฟฟ้านครหลวง 

แนวทางการของบประมาณ การตรวจสอบ การคำนวณค่าใช้จ่าย การเตรียมพื้นที่ และจุดคุ้มทุน การติดตั้งโซล่ารูฟ จาก สมาคมบริหารงานทั่วไป กระทรวงสาธารณสุข 

ค้นหาบทความ

ปลดล็อกศักยภาพ ของพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับที่อยู่อาศัย และ ธุรกิจ

ขอรับคำปรึกษา
ด้านการติดตั้งโซลาเซลล์

บทความที่เกี่ยวข้อง

บริษัท สุพรีม มหาสารคาม จำกัด แก้ปัญหาค่าไฟโรงงานพุ่ง ด้วยโซลาร์เซลล์จาก SOLAR WING

บริษัท สุพรีม มหาสารคาม จำกัด แก้ปัญหาค่าไฟโรงงาน พุ่ง ด้วยโซลาร์เซลล์จาก SOLAR WING 

บริษัท สุพรีม มหาสารคาม จำกัด แก้ปัญหาค่าไฟโรงงานพุ่งสูงด้วยโซลาร์เซลล์จาก SOLAR WING คืนทุนเร็ว 3.3 ปี ประหยัด 1.18 ล้านบาทต่อปี
5 เคล็ดลับการเลือกผู้ให้บริการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ที่เจ้าของธุรกิจควรรู้ก่อนลงทุน

5 เคล็ดลับการเลือกผู้ให้บริการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ที่เจ้าของธุรกิจควรรู้ก่อนลงทุน 

เคล็ดลับการเลือกผู้ให้บริการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมกับธุรกิจ ที่ช่วยให้ประหยัดพลังงาน ลดต้นทุน เพิ่มความยั่งยืนในระยะยาว
ติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงานราคาเท่าไหร่ถึงคืนทุนไว

ติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงานราคาเท่าไหร่ถึงคืนทุนไว? เจาะเคส R.P.M. Group ขนาด 100 kWp คืนทุนใน 3.4 ปี 

ติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน 100 kWp กับ SOLAR WING ลดค่าไฟปีละ 673,517 บาท คืนทุนใน 3.4 ปี สนใจติดตั้งโซลาร์เซลล์ ติดต่อเราเลย