บทความ

5 ข้อกำหนดที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจ ติดตั้งโซล่าเซลล์

5 ข้อกำหนดที่เจ้าของบ้านต้องรู้ ก่อนตัดสินใจติดตั้งโซล่าเซลล์   

 
มีแพลนจะติดตั้งโซล่าเซลล์ แต่ยังไม่มั่นใจว่าควรศึกษาข้อมูล หรือข้อกำหนดเรื่องใดบ้าง เพื่อให้ขั้นตอนในการติดตั้งเป็นไปอย่างราบรื่น เพราะหากเจ้าของบ้านไม่ทำเรื่องขออนุญาตกับหน่วยงานต่าง ๆ อย่างถูกต้อง ก็อาจส่งผลกระทบในเรื่องของความปลอดภัยได้ เช่น อุปกรณ์ติดตั้งไม่ได้มาตรฐาน หรือ โครงสร้างที่ติดตั้งไม่สามารถรองรับน้ำหนักที่เกิดขึ้นได้ เป็นต้น  

บทความนี้ SOLAR WING ได้รวบรวมข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ 5 ข้อกำหนดที่เจ้าของบ้านต้องรู้ ก่อนตัดสินใจติดตั้งโซล่าเซลล์ มาฝากกัน 

รู้จักกับข้อกำหนด “ติดตั้งโซล่าเซลล

เป็นข้อปฏิบัติ หรือ ข้อกำหนดจากหน่วยงานภาครัฐ สำหรับผู้ต้องการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์แบบ On Grid หรือ Hybrid ให้กับบ้าน ซึ่งผู้ใช้งานจำเป็นต้องขออนุญาตกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อความปลอดภัย และป้องกันปัญหาตามมาภายหลัง โดยหน่วยงานที่ต้องยื่นเรื่อง มีดังนี้ 

  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น สำนักงานเขต, เทศบาล หรือตำบล โดยยื่นใบขออนุญาตสำหรับการติดตั้งโซล่าเซลล์เมื่อมีการปรับปรุงพื้นที่ ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอน ซึ่งหลังจากได้รับหนังสืออนุญาตแล้วก็สามารถเริ่มติดตั้งได้ทันที โดยเอกสารที่ต้องเตรียม มีดังนี้ 

    – แบบคำขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร 
    – แบบแปลนแสดงแผนผัง และโครงสร้างการติดตั้ง 
    – รายการคำนวณโครงสร้าง  
    – แบบฟอร์มการสำรวจอาคาร  
    – เอกสารรับรองของสถาปนิก ออกแบบ และควบคุมงาน  
  • สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เมื่อติดตั้งโซล่าเซลล์เสร็จเรียบร้อยแล้ว เจ้าของบ้านสามารถลงทะเบียน เพื่อแจ้งยกเว้นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยไม่ต้องขอรับใบอนุญาต กรณีภายในบ้านมีการผลิตไฟฟ้ารวมต่ำกว่า 1,000 kVA หรือ 800 kW ผ่านระบบออนไลน์ของสำนักงาน กกพ. www.erc.or.th หรือเข้าไปที่หน่วยงาน โดยรายการที่ใช้ในการขออนุญาตสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้แก่  

    – Single line diagram (แบบไฟฟ้า)  
    – หนังสือรับรองที่ออกให้โดยสภาวิศวกร  
    – รายละเอียดอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการติดตั้งโซล่าเซลล์ 

โดยหากมีการผลิตไฟฟ้าเกิน 1,000 kVA ขึ้นไป จะต้องยื่นคำขอในการพิจารณาอนุญาตจาก กกพ. นั่นเอง   

  • การไฟฟ้านครหลวง (กรุงเทพฯ สมุทรปราการ นนทบุรี) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (นอกเขตกรุงเทพมหานคร หรือต่างจังหวัด) หลังจากลงทะเบียน หรือเข้าไปที่หน่วยงานเพื่อเข้าไปแจ้งยกเว้นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยไม่ต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกพ. เรียบร้อยแล้ว ระหว่างรอเอกสาร เจ้าของบ้านต้องแจ้งต่อการไฟฟ้าในพื้นที่ของตนเอง เพื่อให้วิศวกรไฟฟ้าเข้ามาตรวจสอบ และทดสอบการเชื่อมต่อของโซล่าเซลล์ และระบบไฟพร้อมชำระค่าใช้จ่ายตามที่หน่วยงานกำหนด ซึ่งรายการที่ใช้ในการขออนุญาตเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีดังนี้ 

    – Single line diagram (แบบไฟฟ้า)  
    – หนังสือรับรองที่ออกให้โดยสภาวิศวกร  
    – รายละเอียดอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการติดตั้งโซล่าเซลล์ 

ทั้งนี้ เมื่อได้รับเอกสารยกเว้นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยไม่ต้องขอรับใบอนุญาตจาก กกพ. แล้ว เจ้าของบ้านต้องนำเอกสารดังกล่าว ไปแจ้งต่อการไฟฟ้าอีกครั้ง เพื่อให้วิศวกรเข้ามาตรวจสอบ และทดสอบระบบโซล่าเซลล์ตามข้อกำหนด เมื่อได้รับการอนุมัติจากการไฟฟ้าแล้ว ก็สามารถใช้งานแผงโซล่าเซลล์ได้เลยทันที 

5 ข้อกำหนด ติดตั้งโซล่าเซลล์ ที่เจ้าของบ้านต้องรู้ 

5 ข้อกำหนด ติดตั้งโซล่าเซลล์ ที่เจ้าของบ้านต้องรู้


เนื่องจากข้อกำหนดต่าง ๆ ของการติดตั้งโซล่าเซลล์จะถูกแบ่งออกเป็น 2 หน่วยงานที่ดูแล ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดังนั้นทาง SOLAR WING จึงได้แบ่งออกแบบ 5 ข้อย่อยหลัก ๆ ดังนี้

สำหรับการไฟฟ้านครหลวง (กรุงเทพฯ สมุทรปราการ นนทบุรี)

1. ระเบียบการไฟฟ้านครหลวง สำหรับการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า 

เป็นข้อกำหนดการเชื่อมต่อ และการใช้บริการระบบโครงข่ายไฟฟ้าในพื้นที่นครหลวง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่มีใบอนุญาตยินยอมให้ผู้ใช้งานรายอื่นสามารถเชื่อมต่อ หรือใช้ไฟฟ้าได้ในพื้นที่ รวมถึงข้อกำหนดต่าง ๆ เช่น ด้านเทคนิคการออกแบบ รายละเอียดของอุปกรณ์ไฟฟ้า และมาตรฐานการติดตั้ง ฯลฯ เพื่อให้เป็นหลักปฏิบัติโดยเท่าเทียมกัน  

ดูระเบียบการไฟฟ้านครหลวงเพิ่มเติมได้ที่:   

2. รายชื่อ Inverter ที่ผ่านการตรวจสอบจากการไฟฟ้านครหลวง 

คือ รายชื่อผลิตภัณฑ์อินเวอร์เตอร์ที่ผ่านการทดสอบตามข้อกำหนด และสามารถใช้ในการเชื่อมต่อกับโครงข่ายของการไฟฟ้านครหลวงได้ ซึ่งรับรองแล้วว่าได้มาตรฐาน มีความปลอดภัย โดยผู้ใช้งานสามารถนำไปใช้กับการติดตั้งโซล่าเซลล์ให้กับอาคารบ้านเรือนได้ 

ตรวจสอบรายชื่ออินเวอร์เตอร์ที่ผ่านการตรวจสอบจากการไฟฟ้านครหลวงได้ที่:  

3. รายชื่ออุปกรณ์ควบคุมการจ่ายไฟฟ้าไหลย้อนของการไฟฟ้านครหลวง

อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าไหลย้อน (Zero Export Controller) หรือเครื่องมือที่ช่วยตรวจจับความผิดปกติของกระแสไฟฟ้า แล้วสั่งตัดเบรกเกอร์ของเครื่องควบคุมไฟฟ้าหลัก เพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์เกิดความเสียหาย โดยการไฟฟ้านครหลวง ก็ได้มีการอัปเดตรายชื่ออุปกรณ์ควบคุมการจ่ายไฟฟ้าไหลย้อนที่ผ่านการตรวจสอบ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถนำมาติดตั้งกับโซล่าเซลล์ได้อย่างปลอดภัย  

ตรวจสอบรายชื่ออุปกรณ์ควบคุมการจ่ายไฟฟ้าไหลย้อนจากการไฟฟ้านครหลวงได้ที่:



สำหรับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (นอกเขตกรุงเทพมหานคร หรือต่างจังหวัด)

4. ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ว่าด้วยข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า 

คือ ข้อกำหนดการเชื่อมต่อ และการใช้บริการระบบโครงข่ายไฟฟ้าในพื้นที่ส่วนภูมิภาค ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างข้อตกลงร่วมกัน ระหว่างผู้เชื่อมต่อ กับระบบโครงข่ายไฟฟ้าอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น ด้านเทคนิคการออกแบบ รายละเอียดทางเทคนิคของอุปกรณ์ไฟฟ้า การเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้ขนานกับระบบไฟฟ้า และ มาตรฐานการติดตั้ง เป็นต้น   

ดูระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพิ่มเติมได้ที่:

5. รายชื่อ Inverter ที่ผ่านการพิจารณาจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 

เป็นชื่อผลิตภัณฑ์อินเวอร์เตอร์ที่ผ่านการทดสอบตามข้อกำหนด และสามารถใช้ในการเชื่อมต่อกับโครงข่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งมีการรับรองแล้วว่าสามารถนำไปใช้กับการติดตั้งโซล่าเซลล์ของ กฟภ.  
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยสูง 

ตรวจสอบรายชื่ออินเวอร์เตอร์ที่ผ่านการตรวจสอบจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ที่:

ระบบโซล่าเซลล์แบบไหน ที่ไม่จำเป็นต้องขออนุญาต 

ระบบโซล่าเซลล์แบบไหน ที่ไม่จำเป็นต้องขออนุญาต


การติดตั้งโซล่าเซลล์แบบออฟกริด (Off Grid) ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากการไฟฟ้า เนื่องจากเป็นระบบที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เอง โดยไม่ต้องเชื่อมต่อ หรือใช้พลังงานโครงข่ายไฟฟ้าจากหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งโซล่าเซลล์ เช่น หลอดไฟ หรือโคมไฟที่ผลิตจาก Solar Cell เป็นต้น ทั้งนี้ หากมีการใช้แบบออนกริด (On Grid) หรือ แบบผสม (Hybrid Grid) ผู้ใช้งานจำเป็นต้องขออนุญาตทั้ง 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง   

หากติดตั้งโซล่าเซลล์ โดยไม่แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเกิดอะไรขึ้น 

หากติดตั้งโซล่าเซลล์ โดยไม่แจ้งหน่วยงาน จะเกิดอะไรขึ้น


กรณีผู้ใช้งานได้มีการติดตั้งโซล่าเซลล์แบบออนกริด (On Grid) หรือ แบบผสม (Hybrid Grid) ให้กับบ้านโดยไม่ได้แจ้งกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาจส่งผลกระทบต่อทางกฎหมาย เสียค่าปรับ และความปลอดภัยภายในบ้านได้ เช่น หากมีการเชื่อมต่อกับการไฟฟ้าโดยไม่ได้ขออนุญาต ทางหน่วยงานจะทราบได้ทันที เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากโซล่าเซลล์จะไหลเข้าระบบของการไฟฟ้า และทำให้มิเตอร์ไหลกลับ ซึ่งเจ้าของบ้านจะถูกแจ้งให้ถอดแผงออก และเสียค่าปรับพร้อมดอกเบี้ยในอัตราที่สูง  

ติดตั้งโซล่าเซลล์ กับ SOLAR WING ครบจบในที่เดียว 

  • เราพร้อมรับติดตั้ง และขออนุญาตให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 
  • ด้วยทีมช่างผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านระบบวิศวกรรมไฟฟ้า และโยธา 
  • มีแผงโซล่าเซลล์ และขนาดการติดตั้งให้เลือกหลากหลาย เพื่อให้เหมาะสมกับขนาดพื้นที่ 
  • อุปกรณ์ และการติดตั้งได้รับการยอมรับ ตามมาตรฐานสากล 
  • รับประกันแผงโซลาร์เซลล์สูงสุด 12 ปี และประสิทธิภาพไม่ต่ำกว่า 84% ตลอดระยะเวลา 25 ปี 

SOLAR WING ผู้ให้บริการออกแบบ ติดตั้ง และดูแล บำรุงรักษาระบบโซลาร์เซลล์แบบครบวงจร เราคือ ผู้นำ ด้านธุรกิจโซลาร์เซลล์ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยได้เข้าถึงการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ อย่างแพร่หลาย มั่นคง และยั่งยืน ทุกขั้นตอนจะเป็นเรื่องง่ายไม่ยุ่งยาก เราพร้อมดูแลจัดการ ประเมินออกแบบให้ลูกค้าพร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สนใจติดตั้ง Solar Cell พลังงานเพื่ออนาคต
ติดต่อขอรับคำปรึกษาจาก SOLAR WING ได้ที่
Email: info@solarwing.co หรือ โทร 080-3299777 

ที่มา 
การไฟฟ้านครหลวง 
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 

ค้นหาบทความ

ปลดล็อกศักยภาพ ของพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับที่อยู่อาศัย และ ธุรกิจ

ขอรับคำปรึกษา
ด้านการติดตั้งโซลาเซลล์

บทความที่เกี่ยวข้อง

บริษัท สุพรีม มหาสารคาม จำกัด แก้ปัญหาค่าไฟโรงงานพุ่ง ด้วยโซลาร์เซลล์จาก SOLAR WING

บริษัท สุพรีม มหาสารคาม จำกัด แก้ปัญหาค่าไฟโรงงาน พุ่ง ด้วยโซลาร์เซลล์จาก SOLAR WING 

บริษัท สุพรีม มหาสารคาม จำกัด แก้ปัญหาค่าไฟโรงงานพุ่งสูงด้วยโซลาร์เซลล์จาก SOLAR WING คืนทุนเร็ว 3.3 ปี ประหยัด 1.18 ล้านบาทต่อปี
5 เคล็ดลับการเลือกผู้ให้บริการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ที่เจ้าของธุรกิจควรรู้ก่อนลงทุน

5 เคล็ดลับการเลือกผู้ให้บริการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ที่เจ้าของธุรกิจควรรู้ก่อนลงทุน 

เคล็ดลับการเลือกผู้ให้บริการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมกับธุรกิจ ที่ช่วยให้ประหยัดพลังงาน ลดต้นทุน เพิ่มความยั่งยืนในระยะยาว
ติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงานราคาเท่าไหร่ถึงคืนทุนไว

ติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงานราคาเท่าไหร่ถึงคืนทุนไว? เจาะเคส R.P.M. Group ขนาด 100 kWp คืนทุนใน 3.4 ปี 

ติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน 100 kWp กับ SOLAR WING ลดค่าไฟปีละ 673,517 บาท คืนทุนใน 3.4 ปี สนใจติดตั้งโซลาร์เซลล์ ติดต่อเราเลย