ในปัจจุบัน บ้านเรือน หน่วยงานรัฐบาล รวมทั้งบริษัทเอกชนติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์กันมากขึ้น *โดยอ้างอิงจากองค์การพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ (International Renewable Energy Agency: IRENA) เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีกำลังผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ที่ได้ติดตั้งเพิ่มขึ้นจาก 1,420 เมกะวัตต์ (MW) ในปี 2015 เป็น 3,060 เมกะวัตต์ในปี 2022 มีการคาดการณ์ว่าจะมีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 3,900 MW ในปี 2024 และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอีกเป็น 5,520 MW ในปี 2029 แน่นอนว่าผู้ที่ลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์ต่างคาดหวังว่าจะผลิตไฟฟ้าจาก พลังงานแสงอาทิตย์ ได้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน แต่ทว่า กลับเจอปัญหาแผงโซลาร์เซลล์รับ พลังงานแสงอาทิตย์ ได้ไม่เต็มที่ จนได้ปริมาณไฟฟ้าน้อยกว่าที่ควร โดยหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหามาจากการเลือกทำเลติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าได้
*ข้อมูลจาก Mordor Intelligence – เว็บไซต์รวมข้อมูลสถิตด้านพลังงาน และเชื้อเพลิง
ด้วยเหตุนี้ SOLAR WING มีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ “เลือกทำเลติดแผงโซลาร์เซลล์ยังไงให้รับพลังงานแสงอาทิตย์ได้เต็มที่” มาฝากทุกคนกัน เพื่อเป็นแนวทางในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้เต็มประสิทธิภาพ
แผงโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าจาก พลังงานแสงอาทิตย์ อย่างไร? แผงโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์อย่างไร?

แผงโซลาร์เซลล์ ประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “เซลล์แสงอาทิตย์” ซึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำที่มีคุณสมบัตินำไฟฟ้าได้ และมีหลักการทำงานที่สำคัญ คือ การเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง เมื่อมีแสงแดดส่องที่เซลล์แสงอาทิตย์ พร้อมกับถ่ายทอดพลังงานในรูปของคลื่นแม่เหล็กออกมา ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของไฟฟ้า (อิเล็กตรอน) ขึ้นมาภายในเซลล์
แต่ทว่า เซลล์แสงอาทิตย์เพียง 1 เซลล์จะมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่น้อยมาก ไม่สามารถส่งกระแสไฟฟ้าต่อได้ จึงต้องมีการนำเซลล์แสงอาทิตย์มาต่อกันแบบอนุกรมจนเกิดเป็นแผงโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่ เพื่อให้มีแรงเคลื่อนไฟฟ้ามากขึ้น และเพิ่มความสะดวกในการใช้งาน
แผงโซลาร์เซลล์ จะถูกปกคลุมด้วยแผ่นกระจกที่มีคุณสมบัติการสะท้อนแสงต่ำ แสงสามารถเดินทางผ่านไปเข้าได้ และต้องมีความแข็งแรงสูง เพื่อป้องกันเซลล์แสงอาทิตย์ไม่ให้โดนกระแทก รวมทั้งกันความชื้นไม่ให้เข้าไปทำลายแผงด้วย
ทั้งนี้ แผงโซลาร์เซลล์จะรับแสงอาทิตย์ได้มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าในอนาคต โดยจะขออธิบายรายละเอียดต่าง ๆ ในหัวข้อถัดไปนี้
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์

การใช้ระบบโซลาร์เซลล์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้น จะต้องมีปริมาณ และความเข้มของแสงแดดที่สูง จึงจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอต่อความต้องการ โดยมีปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการรับแสงอาทิตย์ และนำไปสู่ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าในลำดับต่อมา ได้แก่
- พื้นที่รับแสง ยิ่งแผงโซลาร์เซลล์มีขนาดใหญ่ จะยิ่งรับพลังงานแสงอาทิตย์ได้เยอะขึ้น
- ความสว่าง ยิ่งมีแสงแดดส่องมามากเท่าไหร่ จะยิ่งผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้น
- ทิศทางของแผงโซลาร์เซลล์ ควรจะหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์
- ความร้อน หากติดตั้งไว้ที่ที่อุณหภูมิสูง อาจทำให้แผงโซลาร์เซลล์เสื่อมสภาพไว
เมื่อทุกคนได้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของแผงโซลาร์เซลล์แล้ว สิ่งเหล่านี้จะเป็นข้อพิจารณา และแนวทางในการหาทำเลติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่เหมาะสมได้ง่ายยิ่งขึ้น
ทำเลในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ให้รับ พลังงานแสงอาทิตย์ ได้เต็มที่

แผงโซลาร์เซลล์ควรอยู่พื้นที่สามารถรับแสงแดดได้เยอะที่สุด เพื่อให้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีวิธีเลือกทำเลที่เหมาะสมต่อการติดตั้ง ดังนี้
1. พื้นที่ว่างในการติดตั้งเพื่อรับ พลังงานแสงอาทิตย์ ต้องกว้างพอ
เนื่องจากแผงโซลาร์เซลล์ควรมีขนาดใหญ่พอต่อการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้ในอาคารที่เพียงพอ พื้นที่ที่จะติดตั้งจึงต้องกว้างตามไปด้วย เช่น พื้นที่ราบตรงดาดฟ้า พื้นที่บนหลังคาบ้านกว้าง ๆ แต่ทั้งนี้ บางบ้านมีพื้นที่บนหลังคาที่ค่อนข้างแคบ ผู้ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์อาจต้องนำเรื่องความลาดชันของแผง และพื้นที่เปิดโล่งมาช่วยเสริมประสิทธิภาพในการรับแสงให้เอื้อกันมากขึ้น
2. ลักษณะพื้นที่ต้องเปิดโล่ง
แผงโซลาร์เซลล์จะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพได้ จะต้องไม่มีเงา หรือสิ่งกีดขวางมาบดบังแสงแดด เพราะจะทำให้แผงรับแสงได้น้อย และมีผลต่อความเข้มของแสงที่อาจลดกำลังผลิตไฟฟ้าลงได้ ข้อแนะนำคือ ไม่ควรมีเงาต้นไม้ใกล้ ๆ รัศมีของแผง ไม่ควรติดตั้งโซลาร์เซลล์ในที่ร่ม ฯลฯ เพราะฉะนั้น ควรติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในพื้นที่กลางแจ้ง และปลอดโปร่งที่สุด
3. ทิศทางในการติดตั้งที่ดีที่สุด คือ ทิศใต้
ทิศทางเป็นอีกหนึ่งตัวแปรในการเลือกทำเลที่มีผลต่อประสิทธิภาพของแผงโซลาร์เซลล์ โดยภูมิศาสตร์ประเทศไทยตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรที่ค่อนไปทางทิศเหนือเล็กน้อย เพราะฉะนั้น จึงต้องติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์หันไปทางทิศใต้ ซึ่งเป็นทิศที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านนานที่สุด ทำให้รับพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากที่สุด จะช่วยให้แผงโซลาร์เซลล์สามารถผลิตไฟฟ้าได้เต็มประสิทธิภาพ
4. ให้ความสำคัญกับองศาในการติดตั้งเพื่อรับพลังงานแสงอาทิตย์
เวลาจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ ความลาดเอียงของแผงโซลาร์เซลล์มีผลต่อการรับแสงอาทิตย์เป็นอย่างมาก โดยการติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อป มุมลาดเอียงของหลังคาปกติทั่วไปจะอยู่ที่ 15 – 30 องศา จึงสามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ระนาบไปกับหลังคาได้เลย แต่ถ้าเห็นว่าหลังคาชันเกินไป ควรปรับองศาของแผงให้แคบลงอยู่ที่ 15 องศา เนื่องจากเป็นองศาความลาดเอียงที่รับแสงอาทิตย์ได้ดีที่สุด
แผงโซลาร์เซลล์บำรุงรักษาอย่างไร?

หลังจากการติดตั้งในทำเลที่เหมาะสม และใช้ระบบโซลาร์เซลล์มาแล้วระยะหนึ่งแล้วนั้น ประสิทธิภาพของแผงโซลาร์เซลล์จะค่อย ๆ เสื่อมลงตามกาลเวลาที่ผ่านไป อีกทั้งยังต้องเจอฝุ่น กิ่งไม้ที่พัดตามกระแสลมมาเกาะตามแผง หรืออาจมีของแข็งกระแทกจนแผงเสียหาย เพราะฉะนั้น ควรมีการบำรุงรักษาแผงโซลาร์เซลล์ให้มีสภาพดีอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่ายังคงรับพลังงานแสงอาทิตย์ได้เต็มประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ การดูแลแผงโซลาร์เซลล์จะต้องอาศัยความรู้ และความเชี่ยวชาญในการบำรุงรักษา ขอแนะนำให้ใช้บริการบำรุงรักษาแผงโซลาร์เซลล์กับ SOLAR WING ปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้การดูแลรักษามีคุณภาพดีที่สุด และสามารถผลิตไฟฟ้าได้เต็มประสิทธิภาพอีกครั้ง โดยมีวิธีดำเนินงาน ดังนี้
- ตรวจสอบโครงสร้างการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ไม่ว่าจะเป็นสลักเกลียว และเฟรมให้ใช้ยึดแผงโซลาร์เซลล์ รวมทั้งโครงเหล็กที่ใช้วางแผงมีสนิมเกาะ หรือแตกหักหรือไม่ พร้อมกับซ่อมแซมแผงให้สามารถรับพลังงานแสงอาทิตย์ได้ดีขึ้นต่อไป
- ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแผงโซลาร์เซลล์ โดยสามารถดูด้วยสายตาว่ามีรอยร้าว การแตกหัก หรือการกัดกร่อนหรือไม่ หากมีหมายความว่าตัวแผงโซลาร์เซลล์เกิดปัญหา ควรติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อทำการตรวจสอบ
- ทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้มีฝุ่น กิ่งไม้ หรือสิ่งสกปรกต่าง ๆ ติดเกาะแผงโซลาร์เซลล์ โดยมีวิธีทำความสะอาด คือ
3.1. ล้างด้วยน้ำเปล่า แล้วใช้ไม้ม็อบเช็ดคราบสกปรกให้สะอาด
3.2. ล้างด้วยน้ำเย็น และใช้ฟองน้ำขัดให้สะอาด เมื่อเจอคราบยางไม้ หรือมูลนก
3.3. ไม่ควรใช้แปรงที่มีโลหะขัดให้สะอาด เพราะจะทำให้แผงโซลาร์เซลล์เป็นรอย
3.4. ไม่ควรใช้ผงซักฟอก หรือน้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์เป็นกรด เพราะจะทำให้ซิลิโคนบนแผงโซลาร์เซลล์เสียหาย
- ตรวจสอบสภาพแวดล้อมใกล้ ๆ แผงโซลาร์เซลล์ เพื่อให้แน่ใจว่ามีต้นไม้บดบังแสงอาทิตย์หรือไม่ เพราะจะมีผลต่อประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ลดลง
นอกจากแผงโซลาร์เซลล์ที่ต้องดูแลแล้ว อุปกรณ์อื่น ๆ ที่เชื่อมต่อกับแผงโซลาร์เซลล์อย่าง อินเวอร์เตอร์ เครื่องควบคุมการชาร์จประจุ สายไฟ และแบตเตอรี่ (สำหรับอาคารที่ติดตั้งด้วยระบบ Off-grid หรือ Hybrid) จะต้องบำรุงซ่อมแซมขั้นต่ำปีละ 2 ครั้งด้วยเช่นกัน เพื่อให้คงประสิทธิภาพในการทำงานอยู่เสมอ และลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุจากระบบโซลาร์เซลล์ที่ขัดข้องจนเกิดความเสียหาย
สรุป
การเลือกทำเลติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ให้เหมาะสม จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่รับแสง ความสว่าง ทิศทางของแผงโซลาร์เซลล์ และความร้อน เพราะเซลล์แสงอาทิตย์จะทำงานได้ดีที่สุดเมื่อได้รับความเข้มของแสงที่สูง และมีปริมาณแสงแดดที่มาก ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางในการหาทำเลที่สามารถรับพลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างเต็มที่ ประกอบด้วย
- พื้นที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ต้องกว้างพอ
- เป็นพื้นที่ปลอดโปร่ง ไม่มีอาคาร หรือต้นไม้มาบังรัศมีของแสงอาทิตย์
- แผงโซลาร์เซลล์ต้องหันเข้าหาดวงอาทิตย์ไปทางทิศใต้
- องศาความลาดเอียงในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ควรอยู่ที่ 15 องศา
แต่ทั้งนี้ จะต้องหมั่นดูแลรักษา บำรุงซ่อมแซม ทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ด้วยเช่นกัน เพื่อยืดอายุการใช้งาน และคงประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าภายในอาคารให้ดีอยู่เสมอ
สำหรับใครที่สนใจจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ไว้ที่บ้าน ร้านค้า หรือสำนักงาน แต่ยังไม่แน่ใจในเรื่องของทำเลการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่เหมาะสมที่สุด สามารถสอบถามข้อมูลของบริการติดตั้ง และบำรุงซ่อมแซมระบบโซลาร์เซลล์เพิ่มเติมกับ SOLAR WING ได้เสมอ ยินดีให้คำปรึกษาครบทุกเรื่องโซลาร์เซลล์ [คลิกเลยที่นี่]
SOLAR WING ผู้ให้บริการออกแบบ ติดตั้ง และดูแล บำรุงรักษาระบบโซลาร์เซลล์แบบครบวงจร เราคือผู้นำ ด้านธุรกิจโซลาร์เซลล์ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยได้เข้าถึงการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ อย่างแพร่หลาย มั่นคง และยั่งยืน ทุกขั้นตอนจะเป็นเรื่องง่ายไม่ยุ่งยาก เราพร้อมดูแลจัดการ ประเมินออกแบบให้ลูกค้าพร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนใจติดตั้ง Solar Cell พลังงานเพื่ออนาคต ติดต่อขอรับคำปรึกษาจาก SOLAR WING ได้ที่ Email: info@solarwing.co หรือ โทร 080-3299777
ที่มา
การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ การถ่ายทอด และการเผยแพร่การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ จาก กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
หลังคาบ้านที่เหมาะกับการติด Solar Cell จาก สถาบันพลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่