บทความ

2568 มาแล้ว! คู่มือกฎหมายการติดตั้งโซล่าเซลล์ล่าสุดที่ต้องรู้

2568 มาแล้ว! คู่มือกฎหมายการติดตั้งโซล่าเซลล์ล่าสุดที่ต้องรู้ 

หากคุณเป็นเจ้าของบ้านที่กำลังสนใจติดตั้งโซล่าเซลล์ (Solar Cell) เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าและก้าวสู่พลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน ต้องไม่พลาดข้อมูลอัปเดต “กฎหมายการติดตั้งโซล่าเซลล์” ปี 2568 ที่เรานำมาฝากในบทความนี้ เพราะนอกจากจะช่วยให้การติดตั้งโซล่าเซลล์ปลอดภัยและถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ยังทำให้มั่นใจได้ว่าระบบไฟฟ้าที่ติดตั้งจะไม่มีปัญหากับหน่วยงานต่าง ๆ และเพื่อนบ้านใกล้เคียง 

SOLAR WING ได้สรุปทุกขั้นตอนสำคัญที่เจ้าของบ้านต้องรู้ ตั้งแต่การยื่นขออนุญาต ไปจนถึงการเตรียมเอกสารที่จำเป็น เพื่อให้พร้อมใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์อย่างสบายใจในปี 2568 นี้ 

ทำไมต้องมี กฎหมายการติดตั้งโซล่าเซลล์ 

ทำไมต้องมี กฎหมายการติดตั้งโซล่าเซลล์

การติดตั้งโซล่าเซลล์นั้นเกี่ยวข้องกับการดัดแปลงอาคารและการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า ซึ่งอาจส่งผลต่อความแข็งแรงของหลังคาและความปลอดภัยในการใช้ไฟ ดังนั้น กฎหมายการติดตั้งโซล่าเซลล์ จึงมีไว้เพื่อควบคุมให้ทุกกระบวนการเป็นไปอย่างปลอดภัย มีมาตรฐาน และไม่ส่งผลกระทบต่อเพื่อนบ้านใกล้เคียง ซึ่งโดยหลัก ๆ แล้วจะต้องดำเนินการ 3 ส่วน คือ 

1. การแจ้งหรือขออนุญาตหน่วยงานท้องถิ่น (ราชการส่วนท้องถิ่น) 

2. การแจ้งหรือขออนุญาตสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) 

3. การแจ้งขอเชื่อมขนานไฟฟ้ากับการไฟฟ้า (การไฟฟ้านครหลวง หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) 

โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อควบคุมมาตรฐาน และความปลอดภัยของการติดตั้ง โดยครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ เช่น

1. ความมั่นคงของโครงสร้างอาคาร 

การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์และโครงเหล็กบนหลังคาเพิ่มน้ำหนักให้กับอาคาร จึงต้องได้รับการตรวจสอบความแข็งแรงโดยวิศวกรโยธา 

2. ความปลอดภัยด้านระบบไฟฟ้า 

ระบบโซล่าเซลล์ออนกริด (On-Grid) และไฮบริด (Hybrid) เชื่อมต่อกับการไฟฟ้าส่วนกลาง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดไฟย้อนเข้าสายส่ง จึงต้องมีมาตรการควบคุมและป้องกันอย่างถูกต้อง 

3. ผลกระทบต่อบุคคลรอบข้าง 

การปรับปรุงอาคารหรือการรุกล้ำอาณาบริเวณอาจส่งผลต่อเพื่อนบ้าน จึงต้องมีการแจ้งหรือขออนุญาตหน่วยงานท้องถิ่นตามกฎหมายควบคุมอาคาร 

4. การส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ 

หน่วยงานรัฐอย่าง กกพ. และการไฟฟ้า ต้องการรวบรวมข้อมูลการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน เพื่อนำไปวางแผนและส่งเสริมอย่างถูกทิศทาง 

ใครบ้างที่ต้องขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ 

เจ้าของบ้านในเขตเมือง หรือในพื้นที่ที่มีการไฟฟ้าเข้าถึง หากต้องการติดตั้งโซล่าเซลล์ “เชื่อมกับสายส่งการไฟฟ้า” ระบบออนกริด On-Grid หรือระบบไฮบริด Hybrid จะต้องดำเนินการขออนุญาตทุกขั้นตอน 

เจ้าของบ้านในพื้นที่ห่างไกล ที่ติดตั้งโซล่าเซลล์แบบออฟกริด Off-Grid ไม่ต้องขออนุญาตเชื่อมระบบไฟฟ้า แต่ถ้ามีการปรับปรุงโครงสร้างหลังคา ก็ยังต้องปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมอาคารของท้องถิ่น 

ผู้ที่ต้องการขายไฟส่วนเกิน ให้กับการไฟฟ้า จะต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติมตามระเบียบของการไฟฟ้า และปฏิบัติตาม กฎหมายการติดตั้งโซล่าเซลล์ อย่างครบถ้วน 

หมายเหตุ สำหรับการติดตั้งในบ้านพักอาศัยทั่ว ๆ ไป มักใช้กำลังผลิตไม่ถึง 1,000 kWp ทำให้สามารถแจ้ง “ขอยกเว้น” ใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น แต่ก็ยังต้องยื่นเอกสารเพื่อแจ้ง กกพ. ตามขั้นตอน 

4 ขั้นตอนสำคัญตาม กฎหมายการติดตั้งโซล่าเซลล์ ปี 2568 

ในปี 2568 ข้อกำหนดและกระบวนการหลัก ๆ ยังคล้ายกับปี 2567 แต่มีการปรับปรุงระบบออนไลน์ของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนติดต่อได้สะดวกขึ้น หากเจ้าของบ้านที่ต้องการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคา นี่คือ 4 ขั้นตอนสำคัญที่ควรทราบ 

1. ยื่นขออนุญาตดัดแปลงอาคารกับหน่วยงานท้องถิ่น 

การติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคา ถือเป็นการดัดแปลงอาคารภายใต้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เจ้าของบ้านจึงต้องแจ้งหรือขออนุญาตหน่วยงานท้องถิ่น เช่น สำนักงานเขต เทศบาล หรือ อบต. เพื่อทำการติดตั้งโซล่าเซลล์ โดยจะต้องผ่านการตรวจสอบความแข็งแรงในการติดตั้งโซล่าเซลล์ และมีลายเซ็นรับรองจากวิศวกรโยธาที่มีใบประกอบวิชาชีพวิศวกรอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น 

โดยแยกเป็นกรณีหลัก ๆ ดังนี้ 

1. พื้นที่ติดตั้งเกิน 160 ตร.ม. และน้ำหนักแผง + โครงสร้าง เกิน 20 กก./ตร.ม 

  • ยื่นขออนุญาตด้วย “ใบอนุญาตดัดแปลงอาคาร (อ.1)” 

2. พื้นที่ติดตั้งไม่เกิน 160 ตร.ม. และน้ำหนักรวมไม่เกิน 20 กก./ตร.ม. 

  • ใช้แบบแจ้งให้ทราบ ไม่ต้องขอใบ อ.1 

เอกสารที่ใช้เพื่อยื่นขออนุญาตตามกฎหมายการติดตั้งโซล่าเซลล์  

  • สำเนาโฉนดที่ดินหรือหนังสือสิทธิ์ในอาคาร 
  • แบบแปลนการติดตั้งโซล่าเซลล์ (ต้องมีลายเซ็นรับรองโดยวิศวกรโยธา) 
  • สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ยื่น 

เมื่อดำเนินการเรียบร้อย หน่วยงานท้องถิ่นจะให้หลักฐานหรือใบอนุญาตกลับมา เจ้าของบ้านจึงสามารถดำเนินการติดตั้งได้อย่างถูกต้อง 

2. แจ้งขอยกเว้นใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้า หรือขอใบอนุญาต (กกพ.) 

แจ้งขอยกเว้นใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้า หรือขอใบอนุญาต (กกพ.)

สาเหตุที่ต้องแจ้งหรือขอใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นเพราะการผลิตไฟฟ้าเกินในบางกำลัง จะเข้าข่าย “ประกอบกิจการพลังงาน” ซึ่งต้องขออนุญาตตามกฎหมาย 

กรณีบ้านทั่วไป ที่กำลังผลิตติดตั้งน้อยกว่า  1,000 kWp 

  • ยื่นเอกสาร “ขอยกเว้น” การขอใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน 

กรณีติดตั้งขนาดใหญ่สำหรับธุรกิจ หรือโรงงาน (กำลังผลิตติดตั้งแต่ 1,000 kWp ขึ้นไป) 

  • ต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้า 

เอกสารที่ใช้เพื่อยื่นขออนุญาตตามกฎหมายการติดตั้งโซล่าเซลล์   

  • ชื่อ สัญชาติ และถิ่นที่อยู่ของเจ้าของกิจการพลังงาน (เจ้าของบ้าน)  
  • ที่ตั้งของสถานประกอบกิจการพลังงาน (ที่ตั้งของโซล่าเซลล์)  
  • ประเภทและขนาดของกิจการพลังงาน (รูปแบบและขนาดของโซล่าเซลล์)  
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้แจ้ง  
  • กรณีที่ผู้แจ้งไม่ใช่เจ้าของกิจการพลังงาน ให้เตรียมหนังสือมอบฉันทะ สำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบฉันทะ  
  • เอกสารอื่น ๆ ตามที่ กกพ. กำหนด 

สามารถแจ้งได้ที่สำนักงาน กกพ. หรือลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ cleanenergyforlife.net โดยหลังอนุมัติจะได้รับหนังสือรับรอง “การประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้น” 

3. ยื่นขออนุญาตเชื่อมขนานไฟฟ้า (ระบบ On-Grid หรือ Hybrid) กับการไฟฟ้า 

ยื่นขออนุญาตเชื่อมขนานไฟฟ้า (ระบบ On-Grid หรือ Hybrid) กับการไฟฟ้า

หากบ้านตั้งอยู่ในเขต กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ ให้ยื่นเรื่องที่ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือผ่านเว็บไซต์ myenergy.mea.or.th  

หากบ้านอยู่ในเขต ต่างจังหวัด ให้ยื่นที่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) หรือผ่านเว็บไซต์ ppim.pea.co.th 

เอกสารที่ใช้เพื่อยื่นขออนุญาตตามกฎหมายการติดตั้งโซล่าเซลล์  

  • หนังสือรับรองการได้รับยกเว้น หรือใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงานจาก กกพ. 
  • ใบอนุญาตดัดแปลงอาคาร (อ.1) หรือหนังสือแจ้งให้ทราบจากหน่วยงานท้องถิ่น 
  • แบบแปลนโครงสร้าง (เซ็นรับรองโดยวิศวกรโยธา) 
  • แบบ Single Line Diagram (เซ็นรับรองโดยวิศวกรไฟฟ้า) 
  • รายละเอียดของแผงโซล่าเซลล์และอินเวอร์เตอร์ (Specification) 
  • Mini COP รายการตรวจสอบมาตรฐานติดตั้ง 
  • หนังสือมอบอำนาจ กรณีให้บริษัทติดตั้งดำเนินการแทน 

หลังการไฟฟ้าตรวจสอบเอกสารแล้ว จะอนุมัติให้ติดตั้งโซล่าเซลล์และเชื่อมขนานกับระบบไฟฟ้าได้ 

4. การไฟฟ้าตรวจสอบระบบจริง ก่อนเปิดใช้งาน 

เมื่อทีมติดตั้งโซล่าเซลล์เสร็จสมบูรณ์ เจ้าของบ้านต้องแจ้งการไฟฟ้าเข้ามาตรวจสอบระบบ และการเชื่อมไฟฟ้าภายในบ้าน หากผ่านเกณฑ์ทุกอย่าง การไฟฟ้าจะอนุมัติให้ใช้งานได้ทันที และเจ้าของบ้านอาจต้องชำระค่าเปลี่ยนมิเตอร์ดิจิทัลพร้อมอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อน (ถ้ามี) 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ กฎหมายการติดตั้งโซล่าเซลล์ 

Q: ใช้เวลานานเท่าไร กว่าจะอนุมัติครบทุกขั้นตอน 

A: โดยทั่วไป หากเอกสารครบถ้วน และไม่มีปัญหาใด ๆ ขั้นตอนตั้งแต่แจ้งท้องถิ่น แจ้ง กกพ. จนถึงยื่นอนุมัติกับการไฟฟ้า อาจใช้เวลารวมประมาณ 2-4 เดือน (หรือเร็วกว่านั้น หากหน่วยงานแต่ละแห่งมีระบบออนไลน์ที่รวดเร็ว) 

หากเกิดกรณีเอกสารขาด หรือหน่วยงานเรียกตรวจสอบเพิ่มเติม อาจใช้เวลานานขึ้น 4-6 เดือน หรือนานกว่านั้น 

Q: ติดตั้งโซล่าเซลล์ขนาดเล็ก แค่ 5-10 kWp ที่บ้าน ต้องขออนุญาตไหม 

A: หากเป็นระบบ On-Grid / Hybrid ต่อร่วมกับการไฟฟ้า ต้องขออนุญาต แม้จะมีขนาดเล็ก แต่ขั้นตอนจะง่ายและเร็วขึ้น เพราะกำลังผลิตไม่สูง 

ถ้าหากเป็นระบบ Off-Grid (ใช้เอง ไม่เชื่อมการไฟฟ้า) อาจไม่ต้องขออนุญาตการไฟฟ้า แต่ยังคงต้องปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมอาคาร 

Q: หากติดตั้งไปแล้ว ไม่ได้ขออนุญาตย้อนหลังได้หรือไม่ 

A: กรณีที่ติดตั้งไปแล้ว หากตรวจพบ จะถูกปรับหรือดำเนินคดีตามกฎหมายควบคุมอาคาร และการไฟฟ้าอาจตัดไฟหากพบการเชื่อมต่อละเมิดข้อกำหนด จึงไม่ควรเสี่ยง ควรทำให้ถูกต้องตั้งแต่แรก อีกทั้งหากเกิดเหตุไฟฟ้าลัดวงจรจากการติดตั้งนอกกฎหมาย บริษัทประกันอาจไม่คุ้มครอง 

อยากติดตั้งง่าย ๆ ไม่ต้องปวดหัวกับ กฎหมายการติดตั้งโซล่าเซลล์ ทำยังไงดี 

หลาย ๆ คนอาจกังวลว่า ขั้นตอนดูซับซ้อน ต้องติดต่อหลายหน่วยงาน อีกทั้งยังต้องทำความเข้าใจเอกสารมากมาย ทางออกที่สะดวก คือมอบหมายให้บริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์มืออาชีพที่มีประสบการณ์ เป็นผู้ดูแลการขออนุญาตให้ทั้งหมด 

SOLAR WING เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านโซล่าเซลล์ที่ให้บริการแบบ One Stop Service ช่วยตั้งแต่สำรวจหน้างาน ออกแบบระบบ จัดการเดินเอกสาร จนถึงติดตั้งและดูแลหลังการขาย จึงมั่นใจได้ว่าทุกขั้นตอนจะเป็นไปอย่างราบรื่น ถูกกฎหมาย และปลอดภัยอย่างแน่นอน 

ติดตั้งโซล่าเซลล์กับ SOLAR WING ดีอย่างไร 

  • ครบวงจร (One Stop Service) ไม่ต้องวิ่งเอกสารหลายรอบ เราดูแลให้ตั้งแต่การประเมินหลังคา จนถึงการยื่นเอกสารขออนุญาต 
  • ทีมงานวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ทั้งวิศวกรโยธาและไฟฟ้า พร้อมเซ็นรับรองแบบเพื่อตอบโจทย์ “กฎหมายการติดตั้งโซล่าเซลล์” ได้อย่างสมบูรณ์ 
  • อุปกรณ์คุณภาพสูง แผงโซล่าเซลล์และอินเวอร์เตอร์ผ่านมาตรฐานสากล ติดตั้งโดยมืออาชีพ 
  • ประสบการณ์ติดตั้งให้กับลูกค้าหลาหลายเคส  เรามีผลงานจริงทั้งบ้านขนาดเล็กไปจนถึงโรงงานขนาดใหญ่ พร้อมรีวิวความพึงพอใจจากลูกค้าหลายราย 
  • ดูแลหลังการขาย มั่นใจว่าระบบไฟฟ้าจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ หากมีปัญหาหรือสงสัย ติดต่อเราได้ทันที 

สำหรับเจ้าของบ้านที่สนใจจะติดตั้งโซลล่าเซลล์ไว้ที่บ้าน ร้านค้า หรือสำนักงาน แต่ยังไม่ได้ดำเนินการขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ สามารถสอบถามข้อมูลของบริการ One Stop Services เพิ่มเติมกับ SOLAR WING ได้เสมอ ยินดีให้คำปรึกษาครบทุกเรื่องโซล่าเซลล์ [คลิกเลยที่นี่

SOLAR WING ผู้ให้บริการออกแบบ ติดตั้ง และดูแล บำรุงรักษาระบบโซลาร์เซลล์แบบครบวงจร เราคือ ผู้นำ ด้านธุรกิจโซลาร์เซลล์ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยได้เข้าถึงการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ อย่างแพร่หลาย มั่นคง และยั่งยืน ทุกขั้นตอนจะเป็นเรื่องง่ายไม่ยุ่งยาก เราพร้อมดูแลจัดการ ประเมินออกแบบให้ลูกค้าพร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนใจติดตั้ง SOLAR WING พลังงานเพื่ออนาคต ติดต่อขอรับคำปรึกษาจาก SOLAR WING ได้ที่ Email: info@solarwing.co หรือ โทร 080-3299777  

ที่มา: 

กิจการที่ต้องขอรับใบอนุญาต จาก กกพ 

การกําหนดให้กิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตเป็นกิจการที่ต้องแจ้ง พ.ศ. 2551 จาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน  

การขอรับใบอนุญาต/การแจ้งต่าง ๆ จาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน 

ค้นหาบทความ

ปลดล็อกศักยภาพ ของพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับที่อยู่อาศัย และ ธุรกิจ

ขอรับคำปรึกษา
ด้านการติดตั้งโซลาเซลล์

บทความที่เกี่ยวข้อง

บริษัท สุพรีม มหาสารคาม จำกัด แก้ปัญหาค่าไฟโรงงานพุ่ง ด้วยโซลาร์เซลล์จาก SOLAR WING

บริษัท สุพรีม มหาสารคาม จำกัด แก้ปัญหาค่าไฟโรงงาน พุ่ง ด้วยโซลาร์เซลล์จาก SOLAR WING 

บริษัท สุพรีม มหาสารคาม จำกัด แก้ปัญหาค่าไฟโรงงานพุ่งสูงด้วยโซลาร์เซลล์จาก SOLAR WING คืนทุนเร็ว 3.3 ปี ประหยัด 1.18 ล้านบาทต่อปี
5 เคล็ดลับการเลือกผู้ให้บริการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ที่เจ้าของธุรกิจควรรู้ก่อนลงทุน

5 เคล็ดลับการเลือกผู้ให้บริการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ที่เจ้าของธุรกิจควรรู้ก่อนลงทุน 

เคล็ดลับการเลือกผู้ให้บริการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมกับธุรกิจ ที่ช่วยให้ประหยัดพลังงาน ลดต้นทุน เพิ่มความยั่งยืนในระยะยาว
ติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงานราคาเท่าไหร่ถึงคืนทุนไว

ติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงานราคาเท่าไหร่ถึงคืนทุนไว? เจาะเคส R.P.M. Group ขนาด 100 kWp คืนทุนใน 3.4 ปี 

ติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน 100 kWp กับ SOLAR WING ลดค่าไฟปีละ 673,517 บาท คืนทุนใน 3.4 ปี สนใจติดตั้งโซลาร์เซลล์ ติดต่อเราเลย