เทรนด์พลังงานสะอาด ทำให้หลายบ้านเริ่มมีความสนใจ และหันมาติดโซลาร์เซลล์มากขึ้น แต่หากติดตั้งไปสักระยะหนึ่ง แล้วสังเกตได้ว่าระบบ โซล่ารูฟท็อป ของคุณไม่ทำงาน หรือ ไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าได้เต็มที่ จะมีวิธีในการตรวจสอบ หรือดูแลรักษาอย่างไรได้บ้าง ? เพื่อให้ระบบโซล่าเซลล์ของคุณใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และยาวนานมากยิ่งขึ้น
บทความนี้ SOLAR WING ได้รวบรวมข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ มือใหม่หลังติดตั้งโซล่ารูฟท็อปต้องดูแลอะไรบ้าง ? เพื่อการใช้งานในระยะยาว มาฝากกัน
ทำความรู้จักกับ “ โซล่ารูฟท็อป ”

โซล่ารูฟท็อป (Solar Rooftop) คือ ระบบพลังงานที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ไว้ที่หลังคาบ้าน โรงงาน หรือดาดฟ้าของตึกอาคารต่าง ๆ จากนั้นพลังงานที่ได้รับจากแสงอาทิตย์จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง ก่อนจะถูกเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสสลับด้วยเครื่องอินเวอร์เตอร์ (Inverter) เพื่อให้สามารถใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในอาคารได้
โดยระบบโซลาร์เซลล์ จะแบ่งออกเป็น 3 ระบบ หลัก ๆ คือ
- ระบบ On-Grid จะเชื่อมต่อและขนานไฟกับโครงข่ายไฟฟ้าของภาครัฐ ผ่านอินเวอร์เตอร์
- ระบบ Off-Grid จะไม่ได้เชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าของภาครัฐ โดยจะมีการกักเก็บพลังงานที่ผลิตได้เอาไว้ในแบตเตอรี่
- ระบบ Hybrid เป็นการนำ 2 ระบบข้างต้นมาทำงานร่วมกัน
ปัจจุบัน การติดตั้งโซล่ารูฟท็อปที่บ้านจะนิยมใช้ระบบโซลาร์เซลล์แบบ On-Grid เนื่องจากใช้อุปกรณ์ติดตั้งน้อย จึงมีค่าใช้จ่ายต่ำ อีกทั้งยังสามารถขายไฟฟ้าให้กับภาครัฐได้ เมื่อโซล่ารูฟท็อปผลิตไฟฟ้าเกินความต้องการจากการใช้งาน
หลังจากที่ได้ทำความรู้จักกับโซล่ารูฟท็อปกันแล้ว ก่อนจะถึงขั้นตอนของการดูแลรักษา SOLAR WING ขอพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ 6 อุปกรณ์หลักที่สำคัญในการติดตั้งโซล่ารูฟท็อป เพื่อเข้าใจหน้าที่ และหลักการทำงาน ร่วมกันของระบบต่าง ๆ ทำให้เราสามารถดูแลได้อย่างถูกต้อง
6 อุปกรณ์หลักที่สำคัญในการติดตั้ง โซล่ารูฟท็อป
- แผงโซลาร์เซลล์ ถือเป็นหัวใจของโซล่ารูฟท็อป ทำหน้าที่รับพลังงานแสงอาทิตย์ และแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง
- อินเวอร์เตอร์ เปรียบเสมือนสมองของโซล่ารูฟท็อป ทำหน้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ
- มิเตอร์ไฟฟ้า ทำหน้าที่วัดการใช้ไฟฟ้าในอาคาร รวมทั้งวัดปริมาณพลังงานที่ส่งไปยังโครงข่ายไฟฟ้า
- Smart Meter และตัวคอนโทรลการจ่ายไฟ อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่เชื่อมต่อระบบไฟฟ้าภายในอาคารทั้งหมด ทำหน้าที่ควบคุมการจ่ายและการรับไฟฟ้าจากระบบโซล่ารูฟท็อป
- สายไฟ และเบรกเกอร์ ทำหน้าที่เป็นตัวนำไฟฟ้าจากอุปกรณ์ส่วนต่าง ๆ เพื่อใช้งาน เมื่อเกิดปัญหาไฟฟ้าลัดวงจร หรือ กระแสไฟฟ้าเกินพิกัด เบรกเกอร์จะทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้า เพื่อป้องกันความเสียหายของอุปกรณ์ไฟฟ้า
- แบตเตอรี่ (สำหรับอาคารที่ติดตั้งระบบแบบ Off-Grid หรือ Hybrid) อุปกรณ์กักเก็บพลังงานที่ได้จากโซล่ารูฟท็อป เพื่อเป็นแหล่งพลังงานสำรองเมื่อไม่มีไฟฟ้าใช้ในช่วงเวลาที่ไม่มีแดด
หมายเหตุ: โซล่ารูฟท็อปเป็นอุปกรณ์ที่มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แต่ยังมีข้อควรระวังเมื่ออุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่ทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น ฝน ลม พายุ ความชื้น อุณหภูมิ รวมถึงฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรก เช่น ยางไม้ หรือ มูลนก ที่มาติดเกาะบนอุปกรณ์ต่าง ๆ จะทำให้กำลังในการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์อาจลดลงถึง 20% เลยทีเดียว
หากระบบโซลาร์เซลล์ไม่ทำงาน หรือทำงานได้ไม่เต็มที่ เช่นจ่ายไฟลดลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับช่วงแรกที่เพิ่งติดตั้ง แนะนำให้เช็ก หรือตรวจสอบ 3 ส่วนหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
3 ส่วนที่ต้องเช็กเมื่อ โซล่ารูฟท็อป ทำงานได้
ไม่เต็มประสิทธิภาพ

เมื่อใช้งานโซล่ารูฟท็อปไปได้ระยะหนึ่ง แล้วสังเกตได้ว่าแผงโซล่าเซลล์ไม่ทำงาน หรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ควรต้องมีการตรวจสอบสภาพของโซล่ารูฟท็อปในจุดต่าง ๆ ดังนี้
1. แผงโซลาร์เซลล์
ตรวจสอบสิ่งสกปรกสะสมบนแผงไม่ว่าจะเป็น เศษใบไม้ คราบฝุ่น มูลสัตว์ รวมถึงควรตรวจสอบความเสียหายบนแผงโซลาร์เซลล์ เช่น รอยแตกร้าวเล็ก ๆ (Micro Crack) ร่องรอยการถูกกัดกร่อนจากความชื้น รอยสนิม เป็นต้น
2. อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ
ไม่ว่าจะเป็นอินเวอร์เตอร์ มิเตอร์ ระบบควบคุม สายไฟ แบตเตอรี่ ควรตรวจสอบการเสื่อมสภาพ เช่น มีฝุ่นเกาะ สายไฟมีรอยขาด รอยร้าว รอยแทะจากสัตว์ การแตกหัก รวมทั้งมีสัตว์เข้ามาทำรัง
3. ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงาน
ในบางกรณีประสิทธิภาพการทำงานของแผงโซลาร์เซลล์อาจลดลงทีละน้อยจนไม่สามารถสังเกตเห็นด้วยตาเปล่า หากเจ้าของบ้านเกิดข้อสงสัย หรือกังวลใจ สามารถตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ เช่น อัตราการผลิตไฟ และการจ่ายไฟ เพิ่มเติมได้ผ่านแอปพลิเคชันของอินเวอร์เตอร์แต่ละแบรนด์
หลังจากที่ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ของโซล่ารูฟท็อปทั้งหมด หากพบความผิดปกติ เจ้าของบ้านสามารถดูแลทำความสะอาดส่วนต่าง ๆ เบื้องต้นได้ด้วยตัวเองดังนี้
วิธีดูแลรักษา โซล่ารูฟท็อป สำหรับมือใหม่ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ

เนื่องด้วยโซล่ารูฟท็อปประกอบด้วยแผงโซลาร์เซลล์ อินเวอร์เตอร์ สายไฟ เบรกเกอร์ รวมทั้งแบตเตอรี่ ซึ่งล้วนมีความสำคัญต่อกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ทั้งสิ้น ดังนั้น จึงต้องมีวิธีการดูแลรักษาโซล่ารูฟท็อปตามส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1. แผงโซลาร์เซลล์
วิธีการดูแล
- ล้างด้วยน้ำ แล้วใช้ไม้ม็อบถูคราบฝุ่นให้สะอาด
- กรณีที่มียางไม้ หรือ มูลนก ให้ล้างด้วยน้ำเย็น จากนั้นใช้ฟองน้ำขัดให้สะอาด
ข้อควรระวัง
- ห้ามใช้แปรงที่มีโลหะขัดทำความสะอาด จะทำให้ผิวหน้าแผงโซลาร์เซลล์เป็นรอย
- ไม่แนะนำให้ใช้ผงซักฟอก หรือน้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์เป็นกัดกร่อน เนื่องจากความเป็นกรดจะทำลายผิวหน้าและซิลิโคนบนแผงโซลาร์เซลล์เสียหาย
2. อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ได้แก่ อินเวอร์เตอร์ ระบบควบคุม
สายไฟ และเบรกเกอร์
วิธีการดูแล
- เช็ดฝุ่นที่เกาะตามอุปกรณ์ให้สะอาดด้วยผ้าแห้ง
- ใช้ไฟฉาย LED ส่องตามรอยต่อภายในอุปกรณ์ เพื่อตรวจสอบความผิดปกติ เช่น อุปกรณ์มีรอยร้าว รอยแตก สายไฟหลุดหลวม มีรอยกัดแทะจากสัตว์ รวมทั้งเกิดประกายไฟ
- หากพบความผิดปกติ ให้รีบแจ้งช่างซ่อมบำรุงโซล่ารูฟท็อปทันที
3. แบตเตอรี่ (สำหรับอาคารที่ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แบบ
Off-grid)
วิธีการดูแล
- ควรตรวจสอบสภาพแบตเตอรี่ ก่อนทำการดูแลซ่อมแซมเสมอ
- ใช้ผ้าแห้งเช็ดฝุ่นหรือคราบสกปรกให้สะอาด
- หากมีคราบสีขาวจากการกัดกร่อนบริเวณขั้ว ให้ทำความสะอาดด้วยผ้าหรือแปรงขนอ่อนชุบน้ำสบู่ แล้วเช็ดให้แห้ง
- แนะนำให้แจ้งช่างซ่อมบำรุงโซล่ารูฟท็อปเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้
นอกจากอุปกรณ์ที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว ยังมีระบบไฟฟ้าส่วนอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องอาศัยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแล จึงเป็นสาเหตุให้เจ้าของบ้านควรเลือกติดตั้งกับบริษัทที่มีบริการการดูแลรักษา หรือซ่อมบำรุงหลังการขาย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่จะตามมา หรืองบที่อาจบานปลายจากการซ่อมบำรุงในภายหลัง โดยระบบโซล่ารูฟท็อปในแต่ละส่วนจะมีระยะเวลา และความถี่ที่ควรดูแลรักษา
แตกต่างกันออกไป
โซล่ารูฟท็อป ต้องดูแลบ่อยแค่ไหน ?

เพื่อให้โซล่ารูฟท็อปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพยาวนานที่สุด ควรดูแลอุปกรณ์ไฟฟ้าส่วนต่าง ๆ ของโซล่ารูฟท็อปอย่างสม่ำเสมอ ตามระยะเวลา ดังนี้
ความสะอาดของแผงโซลาร์เซลล์
หากแผงโซลาร์เซลล์สกปรก หรือมีฝุ่นจับเยอะมาก ควรทำความสะอาด และหมั่นดูแลอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการดูแลทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์ คือ ช่วงเช้า หรือ ช่วงเย็น ที่มีแสงแดดอ่อน ๆ จะช่วยให้ขัดคราบออกได้ง่าย เนื่องจากการทำความสะอาดในช่วงเวลาที่แดดแรง ความร้อนจากแผงโซลาร์เซลล์อาจทำให้น้ำระเหยเร็ว ส่งผลให้คราบสกปรกฝังแน่นมากกว่าเดิม และทำความสะอาดยากขึ้น
ความสมบูรณ์ของแผงโซลาร์เซลล์ ควรตรวจสอบปีละ 2 ครั้ง
ลักษณะผิดปกติของแผงโซลาร์เซลล์ที่สามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น รอยแตกร้าว
สีของโซลาร์เซลล์ที่เปลี่ยนเป็นสีเข้ม (สีโซลาร์เซลล์ที่มีคุณภาพจะเป็นสีน้ำเงิน) ส่วนความผิดปกติที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เช่น จุดร้อน รอยแตกหักขนาดเล็ก ควรให้ช่างซ่อมบำรุงช่วยตรวจสอบให้
สภาพการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้า ควรตรวจสอบประจำปีละ
2 ครั้ง
การใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้า มีโอกาสเกิดความผิดปกติขึ้นได้ เช่น ไฟชอร์ต สายไฟหลุดออกจากตัวเครื่อง ระบบไม่ทำงาน และตัวเครื่องมีอาการบวม เป็นต้น ซึ่งสภาพผิดปกติเหล่านี้ อาจต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของช่างซ่อมบำรุงให้ช่วยเข้ามาตรวจสอบและซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ
สำหรับมือใหม่ที่อาจไม่แน่ใจในเรื่องการดูแลและบำรุงซ่อมแซมโซล่ารูฟท็อปด้วยตัวเอง สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับ SOLAR WING ยินดีให้คำปรึกษาครบทุกเรื่องโซล่ารูฟท็อป คลิกเลยที่นี่ https://solarwing.co/
SOLAR WING ผู้ให้บริการออกแบบ ติดตั้ง และดูแล บำรุงรักษาระบบโซลาร์เซลล์แบบครบวงจร
เราคือ ผู้นำ ด้านธุรกิจโซลาร์เซลล์ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยได้เข้าถึงการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ อย่างแพร่หลาย มั่นคง และยั่งยืน ทุกขั้นตอนจะเป็นเรื่องง่ายไม่ยุ่งยาก เราพร้อมดูแลจัดการ ประเมินออกแบบให้ลูกค้าพร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนใจติดตั้ง Solar Cell พลังงานเพื่ออนาคต ติดต่อขอรับคำปรึกษาจาก SOLAR WING ได้ที่ Email: info@solarwing.co หรือ โทร 080-3299777
ที่มา
Solar Panel Maintenance Guide: You Need to Clean Your Panels จาก CNET
The Ultimate Solar Panel Maintenance Guide To Keep Your Panels Working As Efficiently As Possible จาก Forbes
What are the Components of a Solar Rooftop System? จาก Zunroof
แนะนำ 4 ข้อควรรู้แก่ผู้ประกอบการ ก่อนติดตั้ง “โซลาร์ รูฟท็อป” จาก Green Network
วิธีการดูแลรักษา หลังติดตั้งโซลาร์เซลล์ จาก ธนาคารไทยพาณิชย์
การบำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์ จาก สถาบันพลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด จาก สถาบันพลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่