การติดตั้ง แผงโซล่าเซลล์ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้าได้ เนื่องจากปัจจุบัน แผงโซล่าเซลล์มีหลากหลายแบบ หลายขนาดให้ได้เลือกสรรตามปริมาณการใช้งาน เมื่อติดตั้งไปแล้ว อาจมาทราบทีหลังว่าแผงโซล่าเซลล์นั้นมีขนาดเล็กกว่าปริมาณไฟฟ้าที่ต้องการก็อาจจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูญเปล่า และต้องหาอันใหม่มาเปลี่ยนเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่าย
บทความนี้ SOLAR WING มีข้อมูลเกี่ยวกับการ ติดแผงโซล่าเซลล์ ช่วยประหยัดพลังงาน เพื่อความคุ้มค่า ต้องคำนวณอะไรบ้าง ? มาฝากกัน
แผงโซล่าเซลล์ (Solar Panels) คืออะไร ?

แผงโซลาร์เซลล์ หรือที่หลายคนเรียกว่า แผงโซล่าเซลล์ (Solar Panels) เกิดจากการที่ Solar Cell จำนวนมากประกอบกันออกมาเป็นแผง จนกลายเป็น แผงโซล่าเซลล์ (Solar Panels) แผงโซล่าเซลล์ส่วนใหญ่นั้นจะทำมาจาก ผลึกซิลิคอน (Crystalline Silicon) และแบบฟิล์ม ซึ่งคุณภาพหรือการใช้งานก็จะแตกต่างกันตามเนื้อหรือสารที่นำมาผลิต
สามารถแบ่งแผงโซล่าเซลล์ออกเป็น 3 ประเภท หลักดังนี้
- แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells) ผลิตจากซิลิคอนความบริสุทธิ์สูง จึงทำให้ได้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดี โดยไม่ต้องใช้พื้นที่เยอะมาก มีลักษณะสี่เหลี่ยมที่ถูกลบมุมออก ให้กำลังผลิตไฟได้มากกว่าแบบอื่น ๆ อีกทั้งยังสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าเมื่ออยู่สภาวะที่มีแสงน้อย มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
- แผงโซล่าเซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells) ผลิตจากซิลิคอนทั่วไป มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมไม่ตัดมุม มีสีน้ำเงินฟ้าอ่อน มีกระบวนการผลิตที่ง่าย และไม่ซับซ้อน มีราคาถูก ประสิทธิภาพการใช้งานต่อพื้นที่ต่ำ
- แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells) เป็นการนำเอาฟิล์มมาซ้อนทับกันหลายชั้น ซึ่งผลิตจากวัสดุหลายชนิด เช่น Cadmium Telluride (CdTe, Copper Indium Gallium Diselenide (CIGS) และ Gallium Arsenide (GaAs) มีราคาถูก เหมาะสำหรับการใช้งานที่มีพื้นที่มาก
หน้าที่ของ แผงโซล่าเซลล์ (Solar Panels)
แผงโซล่าเซลล์ทำหน้าที่เป็นด่านหน้าในการรับพลังงาน โฟตอน (Photons) จากแสงอาทิตย์ ด้วยการใช้ PV หรือ Photovoltaic เป็นตัวการที่รับพลังงานแสงอาทิตย์ และเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current: DC)
ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ต้องมีอะไรบ้าง และคำนวณอย่างไรให้เหมาะสมกับงาน
1. แผงโซล่าเซลล์ (Solar Cell Panel)

ตัวรับพลังงานจากดวงอาทิตย์ และแปลงออกมาให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสตรง เป็นหน่วย วัตต์ (w)
วิธีการคำนวณหาปริมาณของแผงโซล่าเซลล์ที่พอเหมาะกับการใช้งาน
1. บันทึกปริมาณการใช้ไฟฟ้า ใน 1 เดือนแบ่งการใช้งานออกเป็นสองส่วน คือ กลางวัน และกลางคืน เช่น ค่าไฟฟ้า 10,000 บาทต่อเดือน ใช้ไฟช่วงกลางวันประมาณ 60% ประมาณ 6,000 บาท กลางคืน 40% ประมาณ 4,000 บาท และมีค่าไฟเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4.7 บาทต่อหน่วย
หลังจากนั้นให้ดูการใช้ไฟฟ้าว่าใช้เดือนละกี่หน่วย และนำมาหารจำนวนวันทั้งเดือน จะได้เป็น กิโลวัตต์ ต่อ ชั่วโมง Kilowatt-Hours (kWh) สามารถดูได้จากบิลค่าไฟประจำเดือน เช่น ใช้เดือนละ 2,000 หน่วย นำมาหาร 30 เฉลี่ยแล้วใช้ไฟวันละประมาณ 67 หน่วย
2. พิจารณาแสงแดดบริเวณที่อยู่อาศัย ด้วยการบันทึกจำนวนชั่วโมงแสงแดดเฉลี่ยต่อวัน ซึ่งประเทศไทยได้รับแสงอาทิตย์ เฉลี่ยประมาณ 5 ชม. ต่อ 1 วัน
จากนั้นนำค่าที่บันทึกทั้งหมดมาคำนวณ ดังนี้
ขั้นที่ 1 นำจำนวนค่าไฟที่ใช้งานไฟฟ้าในช่วงกลางวัน หารด้วย ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย
ยกตัวอย่าง 6,000 ÷ 4.7 เท่ากับ ประมาณ 1,277 หน่วย
ขั้นที่ 2 นำเลขจำนวนหน่วยที่ได้ หารด้วยจำนวนวัน และจำนวนชั่วโมงที่มีแสงแดดเฉลี่ยต่อวัน
ยกตัวอย่าง (1,277 ÷ 30) ÷ 5 เท่ากับ 8.6 หน่วยต่อชั่วโมง
ดังนั้นปริมาณของแผงโซล่าเซลล์ที่ต้องการคือ 9 กิโลวัตต์ (kWh) ขึ้นไป เป็นต้น
ทั้งนี้เป็นการคำนวณเบื้องต้นเท่านั้น ก่อนติดตั้งควรทำการปรึกษาบริษัทที่รับเหมาเพื่อสอบถามรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
2. เครื่องควบคุมประจุกระแสไฟฟ้า (Solar Charge Controller)

ทำหน้าที่ในการรวบรวมควบคุมกระแสไฟฟ้า ที่มาจาก แผงโซล่าเซลล์ ลงในแบตเตอรี่เพื่อทำการกักเก็บไว้ใช้ และแจกจ่ายพลังงานจากแบตเตอรี่ไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน โดยมีหน่วยเป็น แอมป์ (A) ควรมีขนาดเกินกระแสไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ เช่น แผงโซล่าเซลล์ มีขนาด 240 วัตต์ 12 แอมป์ ดังนั้นควรเลือกใช้ เครื่องควบคุมประจุกระแสไฟฟ้า ในขนาด 14 แอมป์ เป็นต้นไป
3. เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Power Inverter)

ทำหน้าที่แปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้กระแสไฟสามารถเข้ากันเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้าน โดยมีหน่วยเป็น วัตต์ (W) ควรใช้เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าในขนาดที่มากกว่า ปริมาณที่ใช้ในแต่ละวัน ยกตัวอย่าง เช่น ใช้หลอดไฟขนาด 12 W จำนวน 4 ดวง และคอมพิวเตอร์ที่มีกำลังวัตต์ 120 W จำนวน 1 ตัว สามารถคำนวณได้ดังนี้ (12W x 4) + 120 = 168 W ดังนั้น ขนาดของ เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Power Inverter) จำเป็นต้องมีปริมาณมากกว่า 168 วัตต์ หรือขนาดปริมาณ 200 วัตต์ เป็นต้นไป
ดังนั้นก่อนทำการติดตั้ง แผงโซล่าเซลล์ จึงควรคำนวณปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ และที่ต้องการ เพื่อหาประเภท และขนาดที่เหมาะสมของแผงโซล่าเซลล์ให้พอดี ทั้งนี้เพื่อเป็นการประหยัดงบในการติดตั้ง และสามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่ เต็มประสิทธิภาพ
เลือกติดตั้ง “แผงโซล่าเซลล์” กับ SOLAR WING ดีอย่างไร ?
SOLAR WING ผู้นำด้านธุรกิจ Solar Cell เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยได้เข้าถึงการใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างแพร่หลาย มั่นคง และยั่งยืนจากการคัดสรรสินค้าที่มีคุณภาพ ได้รับมาตรฐานสากล ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ มีระบบติดตั้งแผงโซล่าเซลล์แบบครบวงจร เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจในคุณภาพงาน อีกทั้งยังรับประกันงานติดตั้ง 3 ปี ฟรีการบำรุงรักษาระบบ 3 ปี มีให้เลือกหลากหลายตามสไตล์การใช้งาน
SOLAR WING ผู้ให้บริการออกแบบ ติดตั้ง และดูแล บำรุงรักษาระบบโซลาร์เซลล์แบบครบวงจร เราคือ ผู้นำ ด้านธุรกิจโซลาร์เซลล์ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยได้เข้าถึงการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ อย่างแพร่หลาย มั่นคง และยั่งยืน ทุกขั้นตอนจะเป็นเรื่องง่ายไม่ยุ่งยาก เราพร้อมดูแลจัดการ ประเมินออกแบบให้ลูกค้าพร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนใจติดตั้ง Solar Cell พลังงานเพื่ออนาคต ติดต่อขอรับคำปรึกษาจาก SOLAR WING ได้ที่ Email: info@solarwing.co หรือ โทร 080-3299777
ที่มา